วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Flash CS5 แนะนำอุปกรณ์ 1

สำหรับหัวข้อนี้เราจะเรียนรู้เครื่องมือทั้งหมดว่าใช้ทำอะไรบ้าง โดยจะอธิบายพอสังเขป เนื่องจากว่าบางเครื่องมือนั้น อาจจะต้องมีการอ้างอิงกับพาเนลอื่นๆ อย่างเช่นการปรับสีชนิด gradient เป็นต้น ซึ่งการใช้งานจริงนั้นจะได้เรียนรู้มากขึ้นในขั้นตอนของการทำ work shop หรือเมื่อพาเนลที่เกี่ยวข้องถูกอธิบายเสียก่อน 

หน้าตาของเครื่องมือแต่ละตัวแบบปรับขนาดแถบ tools แล้ว (กดลูกศร << หรือ >> เพื่อย่อหรือขยาย)


สำหรับบางเมนูที่มีลูกศรดำล่างขวา แปลว่าถ้าคลิกเมาส์ค้างไว้ จะขึ้นเครื่องมืออื่นๆในกลุ่มนั้นๆขึ้นมาอีก

คำอธิบายเครื่องมือต่างๆโดยย่อ

1. หมวดเลือกวัตถุ (Selection)


 Selection เป็นเครื่องมือหลักในการเลือกเมนูและวัตถุต่างๆ รวมถึงการลากวาง เคลื่อนย้ายวัตถุบน Stage และแปลี่ยนแปลงรูปร่างและวัตถุต่างๆอีกด้วย
 Subselection เป็นเครื่องมือสำหรับการเลือกเมนูและวัตถุต่างๆ ได้เช่นกัน แต่การเลือกวัตถุนั้น จะแสดงเส้นจุด point ต่างๆของวัตถุนั้นๆที่สามารถปรับแต่งได้
 Free Transform ใช้ในการเปลี่ยนแปลงขนาดของวัตถุ รวมถึงการหมุน
        Gradient Transform ใช้ในการหมุนสีที่เป็นเกรเดียนท์ และยืดย่อขยายได้
 Lasso ใช้สำหรับลากพื้นที่ครอบบริเวณที่ต้องการเลือกโดยเฉพาะได้

หมวดวาดภาพ (Drawing)

 Pen ใช้สำหรับวาดเส้นโค้งดัดต่างๆแบบต่อเนื่องหรือปรับเส้นโดยมีเส้นพาธแสดงสำหรับปรับความโค้ง
        Add Anchor Point ใช้สำหรับเพิ่มจุดเชื่อมโยงระหว่างเส้นเพื่อดัดรูปทรงได้มากขึ้น
        Delete Anchor Point ใช้สำหรับลบจุดเชื่อมโยงระหว่างเส้น
        Convert Anchor Point
 Text สำหรับพิมพ์ตัวอักษรประเภทต่างๆ
 Line สำหรับวาดเส้นตรง
 Rectangle สำหรับวาดรูปสี่เหลี่ยม
        Oval สำหรับวาดวงกลม
        Rectangle Primitive วาดสี่เหลี่ยมโดยแสดงจุด anchor สำหรับปรับรูปทรง
        Oval Primitive วาดวงกลมโดยแสดงจุด anchor สำหรับปรับรูปทรง
        PolyStar วาดรูปทรงโพลีกอน และดาว
 Pencil สำหรับใช้ลากเส้นวาดตามเมาส์ สามารถปรับขนาดเส้นและลักษณะเส้นได้
 Brush สำหรับใช้ลากเส้นวาดตามเมาส์โดยมีขนาดใหญ่กว่า Pencil และสามารถปรับขนาดหัวได้

หมวดจัดแต่งวัตถุ (Modify)

 Ink Bottle ใช้สำหรับเติม (เปลี่ยน) สีเส้น (stroke)
 Paint Bucket ใช้สำหรับเติมสีของรูปร่างที่วาด (fill)
 Eye Dropper ใช้สำหรับดูดสีของรูปร่างที่เลือกไปเทสีใส่รูปร่างอื่นๆ
 Eraser ยางลบ สำหรับลบรูปร่างที่วาดต่างๆ โดยสามารถเลือกลบเฉพาะอย่างเช่นเส้น หรือตัวเนื้อรูปร่าง

หมวดมุมมอง (View)

 Hand ใช้สำหรับจับเลื่อนสเตจ
 Zoom ใช้สำหรับซูมย่อหรือขยายสเตจ

หมวดควบคุมสี (Color)

 Stroke เปลี่ยนสีเส้นรอบรูปร่างที่วาด
 Fill เปลี่ยนสีส่วนเนื้อของรูปร่างที่วาด
 Black and white ปรับสี Stroke ให้กลายเป็นสีดำ และสี Fill ให้เป็นสีขาว
 Swap colors สลับสีระหว่าง Stroke กับ Fill

อันที่จริงแล้ว เมื่อทำการเลือกเครื่องมือแต่ละชนิดแล้ว เครื่องมือบางชนิดจะมีการเพิ่มส่วนการตั้งค่าเพิ่มเข้ามาอีก รวมถึงการเซตค่าต่างๆในพาเนล properties รวมถึงภาพของเครื่องมือที่ตำแหน่งเมาส์นั้น อาจจะมีสัญลักษณ์ต่างๆปรากฏได้ เมื่อนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น Selection เมื่อนำไปวางไว้บนตรงกลางของเส้นตรง อาจจะแสดงสัญลักษณ์เส้นโค้ง ซึ่งแสดงว่าสามารถปรับความโค้งของเส้นได้ แต่ถ้านำไปไว้บริเวณปลายเส้นทั้งสองข้าง จะขึ้นสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมแทน ซึ่งแสดงถึงการปรับตำแหน่งและยืดขนาดเส้นได้


บทที่ 3 การเปลี่ยนสีวัตถุ

การเปลี่ยนสีวัตถุ บทเรียนแรกเป็นบทเรียนเกี่ยวกับการใส่สีให้กับวัตถุที่เราวาดขึ้นมา โดยปกติแล้วสีที่ใช้ในงาน Vector นั้นจะมี 2 ส่วนคือ
1. สีขอบของวัตถุ Stroke Color
2. สีของวัตถุด้านใน Fill Color

ขั้นตอนการทำ
1. วาดถัตถุขึ้นมาโดยใช้เครื่องมือ  เลือกวัตถุวาดตามใจชอบ ดังภาพ
2. หลังจากที่เราวาดเสร็จแล้วสังเกตุที่วัตถุจะมี 2 สีอย่างในภาพคือ ดำ, ฟ้า ถ้าเราต้องการเปลี่ยนสีฟ้าเป็นสีที่เราต้องการโดยนำ Mouse ไปชี้ที่สีที่เราต้องการเปลี่ยน และเลือกเปลี่ยนได้จาก Fill color ดังภาพ
3. หลังจากนั้นสีที่เราเลือกจะถูกเทลงในวัตถุที่เราเลือก
4. แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนสีขอบวัตถุ ให้เราเลือกที่ขอบของวัตถุ แล้วเลือกเปลี่ยนสีได้จาก Stroke Color ได้เลย
* ถ้าวัตถุมีเหลี่ยนการคลิกเลือกที่ของ 1 ครั้งเราจะได้เพียงด้านเดียว ดังนั้นให้เรา Double ที่ขอบแล้วเราจะสามารถเลือกได้ทุกด้านพร้อมๆ กัน
5. หลังจากที่เราเลือกสี Stroke แล้วสีจะถูกเทลงในเส้นที่เราต้องการ
6. ลองเปลี่ยนสีวัตถอื่นๆ

การทำวัตถุเคลื่อนไหว

การทำวัตถุเคลื่อนไหว การที่เราจะทำวัตถุให้เคลื่อนไหวนั้นใน Flash ถือได้ว่าใช้งานได้ง่ายมากโดยที่เราไม่ต้องมานั่งวาดภาพทีละภาพ มาดูขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนการทำ
1. วาดวัตถุที่เราต้องการทำภาพเคลื่อไหว

2. หลังจากที่เราวาดถัตถุเรียบร้อยแล้วให้เรามากำหนด Key Frame เพื่อระบุตำแหน่งเริ่ม - สิ้นสุดของวัตถุ ในที่นี้ผมจะกำหนดความยาว 30 Frameให้เราคลิกขวาที่ Key Frame ที่ 30 แล้วเลือก Insert KeyFrame ดังภาพ

3. หลังจากที่เราใส่ Key Frame ลงไปแล้วจะสังเกตุที่ Frame จะเป็นสีเทา และมีจุดหัวท้าย ดังภาพ

4. หลังจากนั้นให้เรานำ Mouse เลือก Frame ทั้งหมดตั้งแต่ 1 - 30 แล้วคลิกขวาเลือก Create Motion Tween ดังภาพ

5. หลังจากที่เราใส่ Motion Tween แล้วสังเกตุว่า Frame จะเป็นสีม่วงมีลูกศรชี้หัวท้าย ดังภาพ

6. หลังจากนั้นให้คลิกที่ Frame ที่ 30 แล้วนำ Mouse มาลากวัตถุไปยังตำแหน่งที่เราต้องการ

7. จากนั้นลองทดสอบโดยกด Ctrl+Enter ผลจะได้ดังภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น