ธรรม-รัก..เก็บไว้ใช่ว่า‘ความเมตตา’ตัวช่วย‘นำสันติ-สุข’
ทั้งนี้ เก็บตกสิ่งดีที่มีการนำเสนอออกสู่สังคมไทยในโอกาสวันมาฆบูชา 14 ก.พ. 2557 ก็เช่น...สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
มาถึงวันนี้แม้จะผ่านวันมาฆบูชา ที่ปี 2557 นี้เผอิญตรงกับวันวาเลนไทน์-วันแห่งความรัก วันที่ 14 ก.พ. แต่กับ ’สิ่งดี“ ที่มีการนำเสนอออกสู่สังคมไทย ทั้งที่เกี่ยวกับ “ธรรม” และ “รัก” ก็ ’ไม่น่าจะปล่อยผ่าน“
’ธรรม“ และ ’รัก“ ต่างก็มีมุมดี...เพื่อสิ่งที่ดี
ใช่แค่วันแห่งธรรม-วันแห่งรัก...แต่ทุก ๆ วัน
ทั้งนี้ เก็บตกสิ่งดีที่มีการนำเสนอออกสู่สังคมไทยในโอกาสวันมาฆบูชา 14 ก.พ. 2557 ก็เช่น...สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้โอวาทแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยไว้ สรุปได้ว่า...สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทานโอวาทปาติโมกข์ไว้ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญ และเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โดยในส่วนของ “อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา” นับเป็นหลัก-เป็นหัวใจสำคัญ กล่าวคือ...
1. ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ที่มากระทบ, 2. ความดับความเย็นสนิทของใจจากกิเลส หรือพระนิพพาน, 3. การไม่ประทุษร้ายผู้อื่น ไม่ทำร้ายผู้อื่น, 4. การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้เดือดร้อน
’หากมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความอดทนอดกลั้น รู้จักให้อภัยกัน มีจิตใจเยือกเย็นสุขุมรอบคอบ ไม่ทำร้ายกัน ไม่เบียดเบียนกัน สังคมก็จะมีความสุข อยู่กันด้วยความรัก สามัคคีกัน“...สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ให้โอวาทไว้ในโอกาสวันมาฆบูชา 14 ก.พ. 2557 ซึ่งนับเป็น “ธรรม” ที่ไม่น่าจะปล่อยผ่านเลย
ขณะที่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี ก็นำเสนอบทความธรรม เรื่อง “มาฆบูชา : เยียวยาสังคมไทยด้วยความรัก” ไว้ในโอกาสมาฆบูชา 2557 ซึ่งก็เป็นธรรมที่ไม่น่าจะปล่อยผ่านเลยเช่นกัน โดยเนื้อหาบทความนี้โดยสรุปคือ...มาฆบูชา ปราชญ์บางท่านกล่าวว่า เป็นวันแห่งความ “รัก” ของพระพุทธศาสนา หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง (โดยไม่ต้องอิงกับกระแสวันวาเลนไทน์ก็ได้) ก็จะเห็นว่า คำกล่าวนี้มีข้อเท็จจริงรองรับ...
หลักธรรมสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ล้วนเป็น “หลักธรรมที่นำไปสู่ความรักอันเป็นสากล” เช่นหลักที่ว่า...“ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์”
พระนักเผยแผ่ ระบุไว้อีกว่า เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของโอวาทปาติโมกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ก็จะพบว่า มีสาระสำคัญที่ ชี้ทางให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ด้วย “ความเมตตา” ปรารถนาดีต่อกัน เช่น ความอดทนอดกลั้น คือการบำเพ็ญตบะอันยอดเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่นับว่าเป็นนักบวช, ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่นับว่าเป็นสมณะ, นักบวช (ในพุทธศาสนา) ไม่กล่าวร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร
กล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ…หลักการดังกล่าวนี้ ล้วนสอนให้ “ไม่ใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ หรือต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด” และสอนให้ “อยู่ร่วมกันด้วยการมีขันติธรรม หรือสันติธรรม” ถึงแม้จะถูกกระตุ้นเร้าให้ใช้ความรุนแรงอย่างไร ก็ต้องไม่พลัดตกลงไปสู่หลุมพรางของความรุนแรงเป็นอันขาด
“สังคมไทยของเราในเวลานี้ คุกรุ่นไปด้วยเปลวเพลิงแห่งความโกรธ เกลียด ชิงชัง ความรุนแรงทั้งทางความคิด ทางวาจา และทางการกระทำ จนร่ำ ๆ จะกลายเป็นมิคสัญญีกลียุคในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น หากเราคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม จะหันกลับมาหาสารธรรมจากโอวาทปาติโมกข์ด้วยการร่วมกันศึกษา ทำความเข้าใจ แล้วน้อมนำหลักธรรมนั้นออกมาใช้เป็นแนวทางในการฟื้นฟูบูรณะสังคมไทย ให้เป็นสังคมแห่งขันติธรรมและสันติสุข ก็คงจะเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลมาฆบูชาที่ประเสริฐเลิศล้ำที่สุด”...นี่ก็เนื้อหาที่น่าคิด ที่ไม่น่าจะปล่อยผ่าน
เช่นเดียวกับที่ พระครูวินัยธรชาติ วัดบ้านปะคำสำโรง จ.บุรีรัมย์ ระบุไว้ในกิจกรรมธรรมะบรรยาย ครั้งที่ 96 หัวข้อ ’รักนี้มีเมตตาธรรม“ ที่จัดโดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งใจความสำคัญ ชินทัต เวียร์สุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักส่งเสริมจริยธรรมองค์กร ซีพีเอฟ ระบุว่า...
เป็นธรรมะบรรยายที่มีจุดประสงค์คือ เพื่อให้ เข้าใจถึงความเอื้ออาทรที่ผู้อื่นได้มอบให้ เพื่อให้เกิดการเข้าใจและเรียนรู้ที่จะ แสดงความรักและความเมตตาต่อผู้อื่น ตั้งแต่คนในครอบครัว เพื่อน ตลอดจนสังคมรอบข้าง เพื่อที่จะ ตอบแทนความรักและความเมตตากลับคืนสู่สังคม เป็นธรรมะบรรยายที่จะช่วยปลูกฝังพื้นฐานทางจิตใจให้ยึดมั่นการปฏิบัติตามหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ เพื่อชาติ ประชาชน องค์กรที่สังกัด
’ข้อคิดและหลักธรรมต่าง ๆ ที่ถูกยกขึ้นมา เกี่ยวโยงถึงการส่งต่อความรักให้แก่กันและกัน เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้คนรักใคร่สามัคคีกันมากขึ้น และผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปพร้อมกัน ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อสังคมไทยในปัจจุบัน“...ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักส่งเสริมจริยธรรมองค์กร ระบุ
ทั้งนี้ เหล่านี้ก็เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับ “ธรรม” และยึดโยงถึง “รัก” ที่มีการนำเสนอออกสู่สังคมไทย เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชาปี 2557 ที่ตรงกับวันวาเลนไทน์-วันแห่งความรัก วันที่ 14 ก.พ. ซึ่ง ’ไม่น่าจะปล่อยผ่าน“
อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะเก็บ ’รักนี้มีเมตตาธรรม“
เก็บไว้ใช้ปฏิบัติกับตนเองและกับคนรอบข้าง
เพื่อ ’สันติ“ และ ’สุข“ บังเกิด...หรือฟื้นคืน.
’ธรรม“ และ ’รัก“ ต่างก็มีมุมดี...เพื่อสิ่งที่ดี
ใช่แค่วันแห่งธรรม-วันแห่งรัก...แต่ทุก ๆ วัน
ทั้งนี้ เก็บตกสิ่งดีที่มีการนำเสนอออกสู่สังคมไทยในโอกาสวันมาฆบูชา 14 ก.พ. 2557 ก็เช่น...สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้โอวาทแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยไว้ สรุปได้ว่า...สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทานโอวาทปาติโมกข์ไว้ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญ และเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โดยในส่วนของ “อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา” นับเป็นหลัก-เป็นหัวใจสำคัญ กล่าวคือ...
1. ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ที่มากระทบ, 2. ความดับความเย็นสนิทของใจจากกิเลส หรือพระนิพพาน, 3. การไม่ประทุษร้ายผู้อื่น ไม่ทำร้ายผู้อื่น, 4. การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้เดือดร้อน
’หากมนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความอดทนอดกลั้น รู้จักให้อภัยกัน มีจิตใจเยือกเย็นสุขุมรอบคอบ ไม่ทำร้ายกัน ไม่เบียดเบียนกัน สังคมก็จะมีความสุข อยู่กันด้วยความรัก สามัคคีกัน“...สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ให้โอวาทไว้ในโอกาสวันมาฆบูชา 14 ก.พ. 2557 ซึ่งนับเป็น “ธรรม” ที่ไม่น่าจะปล่อยผ่านเลย
ขณะที่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี ก็นำเสนอบทความธรรม เรื่อง “มาฆบูชา : เยียวยาสังคมไทยด้วยความรัก” ไว้ในโอกาสมาฆบูชา 2557 ซึ่งก็เป็นธรรมที่ไม่น่าจะปล่อยผ่านเลยเช่นกัน โดยเนื้อหาบทความนี้โดยสรุปคือ...มาฆบูชา ปราชญ์บางท่านกล่าวว่า เป็นวันแห่งความ “รัก” ของพระพุทธศาสนา หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง (โดยไม่ต้องอิงกับกระแสวันวาเลนไทน์ก็ได้) ก็จะเห็นว่า คำกล่าวนี้มีข้อเท็จจริงรองรับ...
หลักธรรมสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ล้วนเป็น “หลักธรรมที่นำไปสู่ความรักอันเป็นสากล” เช่นหลักที่ว่า...“ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์”
พระนักเผยแผ่ ระบุไว้อีกว่า เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของโอวาทปาติโมกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ก็จะพบว่า มีสาระสำคัญที่ ชี้ทางให้มวลมนุษยชาติอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ด้วย “ความเมตตา” ปรารถนาดีต่อกัน เช่น ความอดทนอดกลั้น คือการบำเพ็ญตบะอันยอดเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่นับว่าเป็นนักบวช, ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่นับว่าเป็นสมณะ, นักบวช (ในพุทธศาสนา) ไม่กล่าวร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร
กล่าวอย่างสั้น ๆ ก็คือ…หลักการดังกล่าวนี้ ล้วนสอนให้ “ไม่ใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์ หรือต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด” และสอนให้ “อยู่ร่วมกันด้วยการมีขันติธรรม หรือสันติธรรม” ถึงแม้จะถูกกระตุ้นเร้าให้ใช้ความรุนแรงอย่างไร ก็ต้องไม่พลัดตกลงไปสู่หลุมพรางของความรุนแรงเป็นอันขาด
“สังคมไทยของเราในเวลานี้ คุกรุ่นไปด้วยเปลวเพลิงแห่งความโกรธ เกลียด ชิงชัง ความรุนแรงทั้งทางความคิด ทางวาจา และทางการกระทำ จนร่ำ ๆ จะกลายเป็นมิคสัญญีกลียุคในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น หากเราคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม จะหันกลับมาหาสารธรรมจากโอวาทปาติโมกข์ด้วยการร่วมกันศึกษา ทำความเข้าใจ แล้วน้อมนำหลักธรรมนั้นออกมาใช้เป็นแนวทางในการฟื้นฟูบูรณะสังคมไทย ให้เป็นสังคมแห่งขันติธรรมและสันติสุข ก็คงจะเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลมาฆบูชาที่ประเสริฐเลิศล้ำที่สุด”...นี่ก็เนื้อหาที่น่าคิด ที่ไม่น่าจะปล่อยผ่าน
เช่นเดียวกับที่ พระครูวินัยธรชาติ วัดบ้านปะคำสำโรง จ.บุรีรัมย์ ระบุไว้ในกิจกรรมธรรมะบรรยาย ครั้งที่ 96 หัวข้อ ’รักนี้มีเมตตาธรรม“ ที่จัดโดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งใจความสำคัญ ชินทัต เวียร์สุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักส่งเสริมจริยธรรมองค์กร ซีพีเอฟ ระบุว่า...
เป็นธรรมะบรรยายที่มีจุดประสงค์คือ เพื่อให้ เข้าใจถึงความเอื้ออาทรที่ผู้อื่นได้มอบให้ เพื่อให้เกิดการเข้าใจและเรียนรู้ที่จะ แสดงความรักและความเมตตาต่อผู้อื่น ตั้งแต่คนในครอบครัว เพื่อน ตลอดจนสังคมรอบข้าง เพื่อที่จะ ตอบแทนความรักและความเมตตากลับคืนสู่สังคม เป็นธรรมะบรรยายที่จะช่วยปลูกฝังพื้นฐานทางจิตใจให้ยึดมั่นการปฏิบัติตามหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ เพื่อชาติ ประชาชน องค์กรที่สังกัด
’ข้อคิดและหลักธรรมต่าง ๆ ที่ถูกยกขึ้นมา เกี่ยวโยงถึงการส่งต่อความรักให้แก่กันและกัน เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้คนรักใคร่สามัคคีกันมากขึ้น และผลักดันประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปพร้อมกัน ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อสังคมไทยในปัจจุบัน“...ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักส่งเสริมจริยธรรมองค์กร ระบุ
ทั้งนี้ เหล่านี้ก็เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับ “ธรรม” และยึดโยงถึง “รัก” ที่มีการนำเสนอออกสู่สังคมไทย เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชาปี 2557 ที่ตรงกับวันวาเลนไทน์-วันแห่งความรัก วันที่ 14 ก.พ. ซึ่ง ’ไม่น่าจะปล่อยผ่าน“
อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะเก็บ ’รักนี้มีเมตตาธรรม“
เก็บไว้ใช้ปฏิบัติกับตนเองและกับคนรอบข้าง
เพื่อ ’สันติ“ และ ’สุข“ บังเกิด...หรือฟื้นคืน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น